วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัย




สรุปวิจัย



การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเมื่อได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม "สนุกกับลูกรัก" ชุดกิจกรรมมี8ชุด
1.คณิตศาสตร์กับสิ่งต่างๆรอบตัว
2.คณิตศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
3.คณิตศาสตร์กับธรรมรอบตัว
4.คณิตศาสตร์กับของใช้ใกล้มือ
5.คณิตศาสตร์กับเครื่องแต่งกาย
6.คณิตศาสตร์กับเงินทองมีค่า
7.คณิตศาสตร์กับของเหลือใช้
8.คณิตศาสตร์กับเกม
        สรุปได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ 
1.พบว่าการเรียงลำดับ การเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน และการจัดหมวดหมู่ อยู่ในระดับดี 
2.การรู้ค่าจำนวน1-10 และการเรียงลำดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ดีขึ้น 
3.เด็กปฐมวัยทุกคนมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง


สรุปบทความ




ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้  
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก  จำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
            ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ได้แก่  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กบรรลุตามตัวชี้วัดในสาระที่ 1 – 5  ครูควรสอดแทรกทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ  เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสคุ้นเคยและเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป